ยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลบักได
จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก
การวิเคราะห์ SWOT
Matrix องค์การบริหารส่วนตำบลบักไดจึงได้จัดวางทิศทางองค์กร
โดยกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ค่านิยมองค์กร วัฒนธรรมองค์กร
กำหนดประเด็นหลักการพัฒนาที่เป็นสถานภาพปัจจุบันและโอกาสในการพัฒนาและพิจารณาจัดทำวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล
ในช่วง 4 ปี (2561-2564) ได้ดังนี้
วิสัยทัศน์ (VISION) และพันธกิจ (MISSION) การพัฒนาท้องถิ่น
คำนิยมหรือคำขวัญของตำบลบักได
ตำบลน่าอยู่ คู่คุณธรรม นำเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนเข้มแข็ง แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เกษตรอินทรีย์เป็นหลัก รักษาสิ่งแวดล้อม
วิสัยทัศน์
(VISION)
องค์การบริหารส่วนตำบลบักได
ได้กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision)
เพื่อเป็นสภาพการณ์ในอุดมคติ
ซึ่งเป็นจุดหมายและปรารถนาคาดหวังที่จะให้เกิดขึ้นหรือบรรลุผลในอนาคตข้างหน้าตำบลบักไดเป็นตำบลใหญ่
ที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างเป็นสุขและประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรม คาดการณ์ว่า
ในอนาคตต้องเป็นชุมชนที่สงบสุขน่าอยู่อาศัยและมีทัศนียภาพและสิ่งแวดล้อมดี
จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ คาดหวังที่จะให้เกิดขึ้นในอนาคต
ซึ่งมาจากการประเมินสถานภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน ผสานกับการระบุถึงจุดมุ่งหมายหลัก
ความสามารถเฉพาะและคุณค่าหลักขององค์กร ซึ่งวิสัยทัศน์ที่ดีควรกำหนดให้ชัดเจนนำไปสู่การปฏิบัติได้
เป็นภาพในเชิงบวก ปลุกเร้า และดึงดูดใจ ดังนี้
ชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีความมั่นคงอย่างยั่งยืน
ทันต่อการเปลี่ยนแปลง บริการสาธารณะเอื้อต่อสุขภาวะ
พันธกิจ
วิสัยทัศน์เป็นจุดหมายปลายทาง พันธกิจเป็นขอบเขตของบทบาทหน้าที่หลักหรือขอบเขตของกิจกรรมที่มุ่งเน้น ที่องค์กรจะต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนด องค์การบริหารส่วนตำบลบักไดจึงได้กำหนดพันธกิจการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลโดยสอดคล้องกับกฎหมายการจัดตั้งหน่วยงาน ดังนี้
1)ส่งเสริมการจัดระเบียบชุมชนและสังคม พัฒนาระบบการรักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินตามแนวชายแดนและสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
2)พัฒนาศักยภาพด้านการเกษตร ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจ
ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต และเพิ่มคุณภาพของผลผลิตเกษตรอินทรีย์ ส่งเสริมการวางแผนลงทุน
การพาณิชย์ และส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
3)สร้างและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมของชุมชนให้ได้มาตรฐาน
4)สร้างและปรับปรุงพัฒนาแหล่งน้ำให้เพียงพอกับความต้องการและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ในเขตตำบลบักไดและเพื่อให้มีน้ำอุปโภค
บริโภค และการเกษตรอย่างเพียงพอ
5)พัฒนาศักยภาพคนและสังคม พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต
6)พัฒนา ส่งเสริมและยกระดับการศึกษาสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
7)ส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟูศาสนา
วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
8)บริหารจัดการ คุ้มครองดูแล บำรุงรักษาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
9)พัฒนาการบริหารจัดการและการบริการประชาชน
ให้ได้รับความสะดวก รวดเร็ว และเกิดความพึงพอใจ โดยยึดหลักการบริหารจัดการที่ดี
ยุทธศาสตร์
1.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านจัดระเบียบชุมชน
สังคมสู่ชุมชนเข้มแข็งและเสริมสร้างความมั่นคงชายแดน
2.ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพด้านการเกษตร
การวางแผนลงทุน การพาณิชย์และการท่องเที่ยวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
3.ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสู่การพัฒนาที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน
4.ยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ
5.ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตบนพื้นฐานความเสมอภาค
6.ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
7.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศาสนา
วัฒนธรรมประเพณีและนันทนาการสู่สังคมแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน
8.ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
9.ยุทธศาสตร์การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและการบริการประชาชนสู่องค์กรที่มีสมรรถนะสูง
เป้าประสงค์
เป้าประสงค์ เป็นการกำหนดขอบเขตของกิจกรรมที่ควรค่าแก่การดำเนินการ
ซึ่งกิจกรรมหรือขอบเขตเหล่านี้จะสนับสนุนหรือนำไปสู่การบรรลุพันธกิจและวิสัยทัศน์ที่กำหนด เป็นขอบข่ายของผลสัมฤทธิ์หลักที่หน่วยงานต้องการให้เกิดขึ้นแก่ประชาชน
สังคม หรือประเทศชาติในอนาคต โดยระบุถึงกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการที่ชัดเจนและผลประโยชน์ที่กลุ่มเป้าหมายได้รับที่มีความสัมพันธ์กับพันธกิจโดยตรง
รวมถึงสภาพในอนาคตหรือระดับผลการดำเนินงานที่ต้องการให้บรรลุ โดยเป็นได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว องค์การบริหารส่วนตำบลบักได จึงได้กำหนดเป้าประสงค์เพื่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ดังนี้
1)ชุมชนมีความเข้มแข็ง
มีภูมิคุ้มกัน ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและมีส่วนร่วมในการพัฒนาตำบล
2)เกษตรกรมีศักยภาพด้านการผลิตและการแข่งขัน
มีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพและพึ่งตนเองได้
3) การได้รับบริการพื้นฐานที่ได้มาตรฐานและทั่วถึง
4)ประชาชนมีแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคตลอดปี
5) ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
6) การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยได้มาตรฐาน
7) ประชาชนร่วมอนุรักษ์
วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
8) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ดี
9) การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล
ตัวชี้วัด
1)จำนวนของหมู่บ้านที่มีการจัดทำแผนชุมชนและนำใช้แผนชุมชนที่มีคุณภาพ
2)จำนวนผู้นำชุมชนได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพ
3)จำนวนเกษตรกรที่ได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพ
4)จำนวนกลุ่มเกษตรกรที่จดวิสาหกิจชุมชนและมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
5)จำนวนสินค้าชุมชนหรือผลิตภัณฑ์สินค้าทางการเกษตรที่แปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า
6)จำนวนถนนในความรับผิดชอบที่ได้มาตรฐานทางหลวง
7)จำนวนถนนในความรับผิดชอบที่ได้รับการบำรุงรักษาทาง
8)ร้อยละของครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้
9)ร้อยละของจุดเสี่ยงในถนนสายหลักที่มีไฟฟ้าสาธารณะอย่างทั่วถึงและมีการดูแลบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง
10)ร้อยละของครัวเรือนมีน้ำเพียงพอสำหรับอุปโภคบริโภคและเพื่อการเกษตร
10)ร้อยละของครัวเรือนมีน้ำสะอาดเพียงพอตลอดปี
12)ตัวชี้วัดความจำเป็นพื้นฐานด้านสุขภาพดีบรรรลุเป้าหมายทุกเกณฑ์
13)จำนวนผู้นำชุมชนได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านสาธารณสุข
14)จำนวนของผู้สูงอายุได้เข้าร่วมกิจกรรม
15)จำนวนของผู้พิการได้เข้าร่วมกิจกรรม
16)จำนวนของเด็ก
เยาวชนและประชาชนที่ได้รับการอบรมด้านคุณภาพชีวิต
17)ร้อยละของประชาชนที่มีระบบสวัสดิการอย่างน้อย 1 สวัสดิการ
18)ร้อยละของบุคลากรด้านการศึกษาที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ
19)จำนวนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัยได้มาตรฐาน
20)จำนวนประชาชนที่ร่วมอนุรักษ์
วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
20)จำนวนเด็ก
เยาวชนและประชาชนที่ได้รับการส่งเสริมการออกกำลังกาย เล่นกีฬาและนันทนาการ
22)จำนวนหมู่บ้านที่มีการจัดการขยะโดยชุมชน
23)จำนวนกิจกรรมที่ดำเนินการอนุรักษ์
ฟื้นฟู และป้องกันทรัพยากรธรรมชาติ
24)จำนวนประชาชนที่ผ่านการพัฒนาศักยภาพด้านทรัพยากรธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อมและพลังงาน
25) ร้อยละของประชาชนผู้รับบริการมีความพึงพอใจ
26) ร้อยละของคะแนนการประเมินการปฏิบัติราชการประจำปี
27)จำนวนงาน
กิจกรรม โครงการที่เป็นนวัตกรรมขององค์กร |